3 แบบบ้านมินิมอล มินิมอลกลายเป็นสไตล์การแต่งบ้านยอดนิยม ในยุคปัจจุบันที่เน้นให้ความสำคัญ กับความเรียบง่ายเป็นหลัก ด้วยการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ ที่ไม่มีสีสรรฉูดฉาดมาก มีจำนวนเฟอร์นิเจอร์กับของตกแต่งไม่จำเป็นต้องเยอะ เอาแค่ที่พอดี อะไรไม่จำเป็นก็ไม่ต้องใส่เข้าไปในห้อง นอกจากนี้ยังเน้นความสว่าง จากแสงไฟธรรมชาติเป็นหลัก หรือใช้หลอดไฟที่มีสีสรรไม่ฉูดฉาด เน้นความเรียบง่ายในทุกองค์ประกอบ เก็บกวาดดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย
3 แบบบ้านมินิมอล
ลักษณะการตกแต่งที่บ่งบอกถึงความเป็นมินิมอล
1.มีพื้นที่เหลือใช้เยอะ
ด้วยความที่ บ้านสไตล์มินิมอล มีการใช้เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น เน้นการเลือกใช้แต่ของที่จำเป็น และของตกแต่งเหล่านั้นต้องมีความเรียบง่าย ทำให้การตกแต่งสไตล์นี้ มีพื้นที่ว่างเหลืออยู่มาก คือเป็นอัตราส่วนโดยประมาณ Space 60%, Decoration 40%
2.ใช้สีน้อย ๆ หรือสีโมโนโทนในการตกแต่ง
สไตล์มินิมอลจะใช้โทนสีใน การตกแต่งไม่มากนัก และส่วนใหญ่จะเป็นสีพื้นที่ ช่วยเพิ่มความสว่างให้กับห้อง โทนสีที่ใช้สำหรับบ้านสไตล์มินิมอล ควรเป็นสีออกโมโนโทนหรือสีอ่อน ๆ เช่น สีขาว, เทาอ่อน, เทาเข้ม, น้ำตาลอ่อน
3.เฟอร์นิเจอร์น้อยชิ้น แต่จำเป็น และมีดีไซน์เฉพาะตัว
เฟอร์นิเจอร์ในแบบมินิมอลสไตล์ ถึงแม้จะมีความเรียบ ไม่เน้นรวดลาย แต่ดีไซน์ต้องดูทันสมัย หรือมีรูปทรงที่น่าสนใจ เช่น โคมไฟเรียบ ๆ หรือดีไซน์บางเฉียบ เก้าอี้พื้น ๆ ที่ไม่มีลวดลาย แต่มีรูปทรงที่ดูมีคอนเซ็ปต์ ลดทอนความเยอะ และไม่จำเป็นให้เหลือ แต่ความเรียบง่ายที่ดูโดดเด่น ในแบบของตัวเอง แบบห้องน้ำนอกบ้าน
4.คุณภาพ สำคัญกว่าปริมาณ
การตกแต่งบ้านสไตล์มินิมอล ต้องมีระบบการจัดเก็บของที่ดี เพื่อความสะอาด และความเป็นระเบียบ เพราะฉะนั้นการออกแบบห้อง มักจะออกแบบให้ถูกซ่อน อย่างกลมกลืนไปกับอาคาร หรือเครื่องเรือน เช่น การออกแบบผนัง พื้นที่ใต้บันได หรือมุมต่าง ๆ ให้สามารถซ่อนตู้ หรือลิ้นชักเก็บของได้ โดยออกแบบหน้าบานต่าง ๆ ให้กลมกลืนไปกับผนังห้อง เป็นต้น
แบบที่ 1 บ้านมินิมอลประหยัดพลังงาน
ปัญหาสิ่งแวดล้อมรวมถึงภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน มีความหมายต่อวิธีที่เราสร้างที่อยู่อาศัยและการใช้ชีวิตว่าจะเป็นไปในทิศทางไหน บ้านจึงควรตอบสนองการใช้งานด้วยวิสัยทัศน์ใหม่ๆ ที่ตั้งคำถามโดยตรงต่อการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน ว่าเราจะสามารถลดความร้อนในบ้านได้อย่างไร เพิ่มความอบอุ่นในช่องทางไหน
โดยที่ไม่ทำร้ายโลกและไม่เพิ่มค่าใช้จ่ายสำหรับการซื้อหาพลังงานมาใช้ในชีวิตประจำวัน หลังจากที่สถาปนิกร่วมกันพิจารณาสถานการณ์การอยู่อาศัย (ในอนาคต) จึงลองหาคำตอบกับ South House ด้วยการออกแบบตัวอาคารที่คำนึงถึง ฤดูกาล จังหวะของวัน ทิศทางของแสง ลม ความร้อน ความเย็น การจัดการพื้นที่และการผลิตพลังงาน แล้วนำมาบูรณาการเข้ากับ ชีวิตกลางแจ้ง
บ้านขนาดพื้นที่ 127 ตารางเมตรหลังนี้ สร้างอยู่ในประเทศเนเธอแลนด์ ทีมงานออกแบบต้องการเน้น เรื่องความเป็นมิตรกับโลกและประหยัดพลังงาน แต่แทนที่จะเพิ่มความยั่งยืนเพียง ครึ่งทางผ่านการเลือกใช้วัสดุ หรือการติดตั้งที่ชาญฉลาด
สถาปนิกกลับเน้นไปที่หลักการ พื้นฐานตั้งแต่การร่างภาพแรก ๆ และใช้เทคนิคทางสถาปัตยกรรมให้เต็มที่ ด้วยวิธีนี้ทำให้การเพิ่มความเย็น ลดความร้อน และการผลิตพลังงานของบ้าน จึงถูกกำหนดเอาไว้ตั้งแต่แรก
บทสรุปออกมาเป็นบ้านรูปทรงสามเหลี่ยม หลังคาปั้นหนาขนาดใหญ่ ที่วางตำแหน่งของบ้าน ให้รับร่มเงาในฤดูร้อน และเก็บความร้อนจาก แสงแดดได้มากในฤดูหนาว โดยมีเฉลียงขยายความกว้าง เป็นจุดเด่นที่สุดของบ้าน เพราะมีประตูบานเลื่อนกระจกยาวหลายเมตร
ทำหน้าที่ต่อเชื่อมกับภายในบ้าน จนเหมือนเป็นพื้นที่เดียวกัน หลังคาที่คลุมเฉลียง ทำให้ในตอนเช้าและตอนเย็นบ้านจะค่อย ๆ สว่างขึ้นอย่างนุ่มนวล ลมไหลผ่านเข้าตัวบ้านได้เต็มพิกัด และรับแสงแดดส่องผ่าน หน้าต่างที่ผนังด้านข้างด้วย บ้านจึงลดการใช้พลังงานในทุกฤดู
รอบบ้านปูกรวดหยาบสามารถเดินเท้าเปล่าให้เลือดหมุนเวียนในช่วงอากาศอุ่นๆ แต่เมืองไทยคงเดินได้แค่ช่วงเช้าก่อนแดดแรง และช่วงเย็นๆ ที่ความร้อนเริ่มคลายลง
สำหรับแปลนภายในบ้านจะเป็น open plan ดูโล่งกว้างมาก เพราะแทบไม่มีผนังแบ่งกั้นเป็นห้องเล็กห้องน้อย จะเห็นว่าห้องนั่งเล่น ห้องครัว ห้องนอน เปิดโล่งๆ เชื่อมต่อถึงกันได้หมด สเปซในบ้านโล่งกว้างไม่มีอุปสรรคทั้งในแง่ของการใช้งานพื้นที่และสายตา เป็นการตกแต่งแบบโมเดิร์นมินิมอลที่ให้ความรู้สึกสบาย เมื่อมารวมเข้ากับงานไม้ธรรมชาติสีอ่อน ๆ โซฟาหนังสีน้ำตาล ชุดเครื่องครัวไม้ท็อปคอนกรีตสีเทาๆ ยิ่ง feel good
ความร้อนส่วนเกินจะถูกดูดซับโดยพื้นด้านใน ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวสะสมความร้อน และค่อย ๆ คายความร้อนอีกครั้งในเวลาที่อากาศเย็นขึ้น พื้นที่เป็นปูนเปลือยขัดมันเรียบตลอดทั้งผืนก็ทำให้บ้านดูกว้างและเดินได้สบายเท้าไม่ติดขัด จากบันไดไม้ค่อย ๆ นำทางขึ้นไปชั้นลอย พื้นที่ด้านบนใช้เป็นห้องดนตรีและห้องพักที่เข้าถึงได้ง่าย สามารถปฏิสัมพันธ์ระหว่างชั้นได้ แต่อาจจะดูขาดความเป็นส่วนตัวไปสักนิด
หลังคาใช้พลังงานแสงอาทิตย์สามแผง ด้านหน้าของแผงประกอบด้วยเซลล์สุริยะ และด้านหลังเป็นตัวแลกเปลี่ยนความร้อนที่เชื่อมต่อกับปั๊มความร้อน ด้วยระบบนี้ไฟฟ้าและน้ำร้อน (ประปา) จะถูกสร้างขึ้นพร้อมกัน การติดตั้งทั้งหมดรวมอยู่ในการออกแบบ จึงถูกซ่อนไว้ในมุมที่มองไม่เห็น และสามารถผลิตพลังงานส่วนเกินและจ่ายให้กับโครงการโดยรอบในระหว่างขั้นตอนการก่อสร้างของพื้นที่ใกล้เคียงได้ด้วย
ในแต่ละภูมิภาคของโลกจะมีสภาพภูมิอากาศไม่เหมือนกัน ทิศทางการเดินของแสงและลมก็ต่างกัน ดังนั้นการนำแบบบ้านที่สร้างในสภาพภูมิอากาศที่แตกต่างมาใช้งานควรมีการปรับประยุกต์ให้เหมาะสม ตัวอย่างเช่น บ้านที่เหมาะกับอากาศหนาวจะมีกระจกค่อนข้างมาก
เพื่อใช้เป็นต้วช่วยให้แสงแดดส่องผ่านทะลุเข้าไปสร้างความอบอุ่นภายใน ถ้าเจ้าของบ้านต้องการนำมาสร้างในบ้านเขตร้อน จะต้องเลือกวัสดุกระจกที่มีคุณสมบัติสะท้อนแสง หรือหันด้านที่มีกระจกไปในทิศที่ไม่โดนแสงแรงๆ ตลอดทั้งวัน อย่างทิศเหนือหรือตะวันออก และใส่ช่องเปิดในด้านที่ลมไหลผ่าน เป็นต้น
แบบที่ 2 บ้านมินิมอล ชวนท้าทายกับหลังคาที่ลอยตัว
บ้านโมเดิร์นที่มีดีกว่าความเรียบ บ้านหลังนี้เป็นหนึ่งในโครงการบ้านที่ออกแบบโดย y + M Design Office ที่กำหนดรูปแบบทางสถาปัตยกรรมในรูปแบบที่เรียบง่ายมาก ๆ ตัวบ้านถูกกำหนดให้เป็นสถานที่ส่วนบุคคลที่สะท้อนตัวตนอันแตกต่างจากภูมิทัศน์ของเมืองรอบ ๆ โดยใส่รูปลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร
แต่ยังมีจุดร่วมคือลักษณะหลังคาที่ทำองศาตรงมุมให้ดูคล้ายบ้านหลังคาทรงปั้นหยา และการตัดผนังบางส่วนให้โค้งดูเหมือนทรงหลังคาญี่ปุ่นโบราณ ตัวอาคารขยับเข้าไปลึกจากถนนแล้วทำเนินให้ค่อย ๆ เข้าสู่ตัวบ้าน แม้จะเป็นอาคารส่วนตัวแต่ก็เป็นจุดสังเกตที่เสริมสร้างประสบการณ์การใช้ชีวิตร่วมกับชุมชนได้ บ้านมินิมอล
ด้านหน้าปิดหลังเปิดแบ่งเป็นสองอาคาร อาคารกล่องสี่เหลี่ยมด้านหน้าที่เห็นเป็นก้อนเดียว หากมองจากด้านหลังจะเห็นว่าแบ่งกลุ่มอาคารออกเป็นสองก้อน มีช่องว่างตรงกลาง ในส่วนหลังคาก็เป็น 2 ชั้นเช่นกัน
คือ หลังคาที่ติดกับผนังออกแบบให้โค้งแอ่นความสูงด้านหนึ่ง ตัดเส้นเฉียงสูงด้านหนึ่งให้มีความเหลื่อมกัน ส่วนหลังคาอีกชั้นจะเป็นแผ่นคอนกรีตขนาดใหญ่ยกขึ้นเป็นหลังคาลอยตั้งอยู่บนเสาไม้เรียวสูงอย่างท้าทาย ในขณะที่ผนังทั้งสี่ด้านด้านล่างดูราวกับเป็นม่านสีขาวที่ห้อยลงมาจากทั้งสี่ด้าน
การสร้างหลังคาในมุมที่แตกต่างกันทำให้เกิดมุมมองที่เหลื่อมกัน สามารถมองเห็นกันได้โดยไม่ทับซ้อน และการใช้วิธีแยกอาคารเป็นสองส่วนก็เป็นกลยุทธ์ที่ดีในการแบ่งสัดส่วนการใช้งานออกจากกัน
อาทิ พื้นที่เล่นสำหรับเด็ก ห้องทำงาน ห้องนอน และพื้นที่ขนาดใหญ่สำหรับการใช้งานที่หลากหลาย ไม่รบกวนกันและกัน ระหว่างอาคารมีประตูหน้าต่างขนาดใหญ่ที่หันหน้าเข้าหากันทำให้สามารถมองเห็นภายในของบ้าน เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้อยู่อาศัยโดยไม่รู้สึกว่าถูกปิดกั้นมุมมอง เพียงแต่เลือกเปิดในส่วนที่เปิดได้และปิดส่วนที่ต้องการปิดเท่านั้น
แบบที่ 3 บ้านมินิมอลที่อ่อนโยน
บ้านที่รู้สึกถึงความอ่อนโยนตั้งแต่ทางเข้า บ้านพื้นที่ใช้สอย 108 ตร.ม. หลังนี้ดูเรียบง่ายด้วยรูปทรงและเส้นสาย แต่กลับรู้สึก touch สายตาด้วยสีของหลังคาที่ตัดกับผนังสีขาวสะอาด รวมทั้งทางเข้าและประตูบานคู่ที่ใช้พื้นผิวที่อ่อนโยนของไม้ต้อนรับการกลับมาของสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนที่มาเยี่ยมอย่างเป็นมิตร
อย่างไรก็ตามแม้ว่าสมัยนี้บ้านญี่ปุ่นที่สร้างใหม่จะนิยมหลังคากระเบื้อง ผนังปูนซิเมนต์และเหล็กเป็นวัตถุก่อสร้างหลัก ๆ แต่ถ้าเปิดประตูเข้าไปดูภายในบ้านญี่ปุ่นแล้ว จะพบว่าโครงสร้างภายในของบ้านยังมีวัฒนธรรมญี่ปุ่นดั้งเดิมแทรกซ่อนอยู่เกือบทุกบ้าน บ้านหรู
ทางเข้ากลิ่นอายแบบญี่ปุ่น โถงทางเข้ามีสีพื้นอบอุ่นสะดุดตา สำหรับบ้านญี่ปุ่นทางเข้าเป็น “หน้าตาของบ้าน” ที่สำคัญเช่นเดียวกับพื้นที่ใช้งานสำหรับครอบครัว เพราะเป็นส่วนที่ต้อนรับการเข้ามาตั้งแต่ก้าวแรก และเตรียมพร้อมสำหรับก้าวสุดท้ายก่อนออกไปข้างนอก นักออกแบบจึงได้วางชั้นวางเพดานสูงเพื่อให้เจ้าของบ้านสามารถแสดงวิถีชีวิตและงานอดิเรกของสมาชิกครอบครัวเอาไว้ในจุดนี้
สำหรับบ้านแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม ต้องมีห้องเล็กๆ ถัดจากประตูเข้าบ้านที่เรียกกันว่า Genkan เป็นที่ถอดรองเท้าและเป็นที่คนในบ้านจะออกมารับแขกที่เข้ามาเยี่ยมบ้าน ซึ่งจุดนี้มักจะทำให้ต่ำกว่าพื้นบ้านประมาณ 30-60 cm.
นอกจากส่วน Genkan จะเป็นพื้นที่ใช้งานแบบที่ว่าแล้ว ยังเป็นจุดที่จะบังพื้นที่ใช้งานภายในบ้านจากสายตาของคนที่เข้ามา แบ่งแยกภายนอกบ้านที่เป็นที่สำหรับคนนอกหรือแขก และภายในบ้านที่เป็นของส่วนตัวออกจากกันด้วย
ถัดเข้ามาด้านในบ้านจะเห็นบันไดที่สร้างความประทับใจให้กับการตกแต่งภายใน ผ่านการทาสีดำสนิทบริเวณแม่บันไดและพุกบันไดตัดด้วยลูกนอนที่เป็นไม้อ่อน ๆ ติดราวกันตกไม้ระแนงสีอ่น ๆ เช่นกัน ทำให้บันไดโปร่งเหมือนโครงกระดูกที่เปิดให้แสงที่นุ่มนวลส่องเข้ามา ไม่เพียงแต่ใช้เป็นทางเดินเท่านั้น แต่ยังให้ความลึกที่หลากหลายเติมมิติให้กับบ้านและชีวิตของผู้อยู่อาศัยอีกด้วย
ห้องนั่งเล่นมุมโปรดของทุกคน เจ้าของบ้านมีแนวคิดว่าแทนที่จะปิดความสัมพันธ์กับภายนอกด้วยม่าน พวกเขาต้องการที่จะมีช่องเปิดให้สนทนาปราศัยกับท้องฟ้า แสง ธรรมชาติภายนอกด้วยกระจกใสให้มากที่สุด เมื่อยามค่ำมาเยือนการปิดทีวีแล้วชี้ชวนกันมองขึ้นไปบนท้องฟ้าที่เต็มไปด้วยดวงดาว ได้ใช้เวลาห่างจากหน้าจอสร้างปฏิสัมพันธ์และอยู่ด้วยกันกับครอบครัวเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด เอาอะไรมาแลกก็ไม่ยอม