บ้านสไตล์นอร์ดิก

บ้านสไตล์นอร์ดิก บ้านสไตล์นอร์ดิกเป็นบ้าน ที่มีสไตล์การดีไซน์ที่สวยงาม มีความเรียบง่าย ชวนผ่อนคลายน่าอยู่ ซึ่งบ้านสไตล์นอร์ดิกแบบนี้ จะตกแต่งให้น้อยแต่เน้น ดีไซน์รูปแบบบ้านให้ดูเรียบง่าย โดยไม่มีการตกแต่งให้ซับซ้อน ซึ่งอาจใช้โทนสีเรียบๆ อย่างสีขาวในการตกแต่ง บ้านเพื่อให้มีความสะอาดตา

บ้านสไตล์นอร์ดิก หรือ Nordic House Style เป็นสไตล์บ้านอีกรูปทรงที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในประเทศไทย แม้ว่าบ้านสไตล์นอร์ดิกจะเป็นเทรนด์การออกแบบบ้านจากโซนยุโรปที่มีอากาศหนาวแต่ก็ได้รับความนิยมมายังสภาพบ้านเราที่มีอากาศร้อนชื้นด้วย

เนื่องด้วยบ้านสไตล์นอร์ดิกนั้นเป็นบ้านที่มีขนาดพอดีไม่ได้เล็กหรือใหญ่จนเกินไป มีการดีไซน์ที่เรียบง่ายปรับให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ผู้อยู่อาศัย โปร่งโล่ง สบายตา ผ่อนคลาย น่าพักอาศัย มีความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์เชิญชวนให้ผู้คนตกหลุมรักบ้านสไตล์นอร์ดิกอย่างแน่นอน

บ้านสไตล์นอร์ดิกที่กำลังฮิตๆ มีที่มาอย่างไร

บ้านสไตล์นอร์ดิกที่กำลังได้รับความนิยม กันอยู่ในประเทศไทย ณ ขณะนี้แท้จริงแล้วมี ที่มาจากซีกโลกทางโซนยุโรปเหนือ โดยเป็นบ้านที่ได้รับแรงบันดาลใจ มาจากโรงนาหรือยุ้งฉางใน แถบสแกนดิเนเวียที่มีลักษณะ เน้นความง่าย เปิดให้พื้นที่มีแสงสว่างจากธรรมชาติ ส่องเข้ามาอย่างอบอุ่น

บ้านนอร์ดิก เป็นการเรียกสไตล์การออกแบบ ดีไซน์บ้านของชาวนอร์ดิก ซึ่งชื่อ “นอร์ดิก” เป็นชื่อที่ใช้เรียกผู้คนที่อาศัยอยู่ในโซนยุโรปเหนือ อย่างคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย ฟินแลนด์ ไอซ์แลนด์ นอร์เวย์ เดนมาร์ก

ซึ่งกลุ่มคนโซนยุโรปมีฐานแนวความคิดที่ว่า ความพอดีนั้นดีที่สุดไม่มาก ไม่น้อยจนเกินไป ปรับเปลี่ยนลดความยุ่งเหยิง วุ่นวายซับซ้อนให้กลาย เป็นความเรียบง่าย ตามจังหวะชีวิตของตัวเองไม่ต้องตามใคร ซึ่งแนวความคิดนี้สามารถ นำไปปรับใช้กับหลายๆ อย่างได้ 1 ในนั้นคือรูปแบบการสร้าง บ้านสไตล์นอร์ดิก ที่กำลังได้รับความนิยม เป็นอย่างมากในบ้านเรานั่นเอง

ลักษณะเด่นของบ้านสไตล์ Nordic ที่ปรับให้เหมาะกับเมืองไทย

ทำไมสไตล์บ้านของเมืองหนาว ถึงได้รับความนิยมในเมืองไทยที่แสนอบอ้าวกันล่ะ? นั่นก็เพราะโดยหลักการการทำบ้านนอร์ดิก จะเน้นการเปิดรับแสงธรรมชาติ และการเปิดพื้นที่โล่งเพื่อเชื่อมต่อกับธรรมชาติ ทั้งสายลมและแสงแดด ซึ่งผู้ออกแบบสามารถ ปรับให้เหมาะสม กับสภาพอากาศเมืองไทย ที่เป็นลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้น (Tropical climate) ได้ไม่ยาก และต้องให้ความสำคัญกับทิศทางลม กับช่องแสงมากขึ้นกว่าบ้านสไตล์อื่น

ลักษณะเด่นของบ้านสไตล์นอร์ดิกภายนอก

  1. เส้นสายที่เรียบง่าย รูปทรงที่ไม่ซับซ้อน
    การออกแบบตัวอาคารลักษณะเป็นทรงเรขาคณติที่ดูเรียบง่าย สบายตา ไม่มีรายละเอียดที่ซับซ้อนเกินความจำเป็น เส้นสายที่สะอาด เป็นเส้นนำสายตาดึงดูดความสนใจ
  1. จั่วสูง ภายในตัวบ้านโปร่ง โครงหลังคาลาดชัน มีกระจกเยอะหรือสูงเพื่อรับแสงธรรมชาติ
    ตัวหลังคาจะใช้รูปแบบทรงจั่วสูง ภายในโปร่งโล่งสบาย การออกแบบที่คำนึงถึงประโยชน์ใช้สอย และโดดเด่นด้วยความงาม เน้นช่องแสงจากกระจก ในการรับแสดงธรรมชาติ การยกจั่วสูงที่ทำให้หลังคาลาดชัน ซึ่งความลาดเอียงในระดับที่มากกว่าปกติ จะช่วยให้น้ำฝนไหลลง ด้านล่างได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ไม่เกิดน้ำขังบริเวณหลังคาจน เกิดการรั่วซึมได้ง่าย
  1. ใช้สีธรรมชาติ (Neutral) สีขาว เทา ดำ เบจ และวัสดุธรรมชาติ
    เฉดสีบ้านสไตล์นอร์ดิก เน้นความเป็นธรรมชาติ “บรรยากาศ” ของความเรียบง่าย สงบ อบอุ่นและผ่อนคลายแก่ผู้อยู่อาศัย มักตกแต่งด้วยโทนสีของธรรมชาติ อาทิ การเลือกใช้โทนสีขาวเป็นสีพื้น, สีเอิร์ธโทนอย่างสีน้ำตาลของไม้ เป็นต้น การเลือกวัสดุตกแต่งผนังที่คุมโทน โดยปูแผ่นไม้ส่วนหนึ่ง หรืออีกด้านหนึ่งปูด้วยแผ่นหิน ซึ่งวัสดุทั้งสองรูปแบบได้แรงบันดาลใจ จากวัสดุตกแต่งบ้านตามสไตล์นอร์ดิก สะท้อนถึงอารมณ์อันสุขุม สอดคล้องกับวิถีชีวิตที่เรียบง่าย และรักในธรรมชาติที่เป็นคุณลักษณ์เด่น บ้านหรู

ไอเดียบ้านสไตล์นอร์ดิก สเปซพิเศษเพื่อความเป็นส่วนตัว

บ้านสไตล์นอร์ดิก

บ้านสไตล์นอร์ดิก ดีไซน์และฟังก์ชันของ บ้านนั้นมีความสำคัญก็จริง แต่ก็มีอีกสิ่งหนึ่งที่ เจ้าของบ้านไม่ควรมองข้าม นั่นคือ การจัดวางระดับความ เป็นส่วนตัวให้กับบ้าน เพื่อให้การอยู่อาศัยตรง กับวิถีชีวิตมากที่สุด บางบ้านจะโชว์ในส่วนที่เปิดเผยได้ แต่บางบ้านก็มีมุมความเป็นส่วนตัวสูง ไม่ค่อยอยากโชว์พื้นที่ ข้างในก็จะต้องวางแผนว่า

หากไม่เปิดจุดนี้มีจุดไหน ที่เปิดได้เพื่อไม่ให้บ้านดูอึดอัด และขาดการติดต่อ อย่างเช่นบ้านนี้ หากมองจากภายนอกจะเห็นเพียงเส้นสาย บ้านหลังคาจั่วสูงสไตล์นอร์ดิก ไม่ได้ใส่ลูกเล่นอะไรมากมาย แต่เรื่องราวระหว่าง การออกแบบทั้งความเป็นส่วนตัว การใส่ความแตกต่างอย่างง่าย ๆ เส้นสาย และสี ก็สร้างสเปซนี้ ให้มีความพิเศษขึ้นมาได้เช่นกัน

บ้านของครอบครัวนี้ ตั้งอยู่ระหว่างถนน ที่พลุกพล่าน และสวนสาธารณะที่ติดกับแม่น้ำไวกาโต ประเทศนิวซีแลนด์ จากหน้าถนน ด้านทิศตะวันออก พื้นที่จะลาดลงไปทางสวนทิศตะวันตก เจ้าของบ้านที่ค่อนข้างรัก ความเป็นส่วนตัวจึงออกแบบบ้าน ให้ดูปิดจากสายตา เพื่อนบ้านที่อยู่ใกล้เคียง

บ้านสไตล์นอร์ดิก

ในลักษณะที่เป็นอาคาร หลังคาจั่วสไตล์นอร์ดิก โชว์ความตัดต่างของสีผนังอิฐ สีขาวในส่วนโรงจอดรถ และผนังไม้สีน้ำตาลในโซนใช้งานประจำวัน ในขณะเดียวกันก็ เปิดกว้างต่อมุมมอง และปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนบ้าน ในส่วนอื่นแทน

จากสวนสาธารณะมอง เข้ามาที่ด้านข้างบ้าน จะเผยให้เห็นลักษณะบ้านหลังคาจั่ว 3 ส่วนที่ต่างสี ต่างความสูง และวัสดุ แต่เชื่อมต่อกันเป็นแถวยาว ส่วนที่สะดุดตาที่สุดอยู่ที่กระจกบานใหญ่มี กรอบสี่เหลี่ยมเหล็ก เป็นซับวงกบยื่นออกมาให้เส้นสายตาชัดเจนทันสมัย และพื้นที่นั่งเล่นกลางแจ้ง ที่มีหลังคาคลุมเปิดพื้นที่ใช้สอย ออกสู่พื้นที่สีเขียว ในบ้านให้ต่อเนื่องลื่นไหล ด้านนี้จึงดูเปิดออกมากกว่าอีกด้าน แต่ยังคงรักษาระดับความเป็นส่วนตัว ของบ้านเอาไว้ในส่วนที่ต้องการ

ทางเข้าบ้านจะอยูตรงกลาง ระหว่างโรงรถกับบ้านส่วนหลัง มีกำแพงยื่นยาวหลบสายตา จากเพื่อนบ้าน จากประตูทางเข้าจะนำมาสู่บ้านสองชั้น ที่จัดแบบ open plan และรายล้อมด้วยผนังกระจก บ้านจึงเต็มไปด้วยความโปร่งและสว่าง แต่กระจกที่เลือกใช้เป็นแบบ ติดฟิล์มที่มองทะลุได้ด้านเดียว คนที่อยู่ภายนอกจะมอง ไม่เห็นภายในบ้าน จึงใช้ชีวิตได้แบบไม่ต้องกังวลสายตา

ส่วนห้องครัวของบ้าน

ในส่วนชั้นล่างจะเป็น Public Zone พื้นที่ใช้งานสาธารณะ ที่มีความเคลื่อนไหวมากทั้งวัน ประกอบด้วย ห้องนั่งเล่น ครัว โต๊ะทานข้าว ที่วางเฟอร์นิเจอร์เรียงกัน ไปแบบไม่มีผนังกั้น สามารถเข้าถึงกันได้หมด ส่วนชั้นบนจะจัดวาง ห้องนอนซึ่งเป็น Private Zone ที่ไม่ต้องการความพลุกพล่าน เหมาะสำหรับพักผ่อนยามค่ำคืน

มุมนั่งเล่นที่จัดให้อยู่ในระดับต่ำ ลงไปเป็นเหมือนหลุมที่อบอุ่น ล้อมรอบด้วยชุดโซฟา สีเขียวกำมะหยี่หนานุ่ม อีกด้านหนึ่งเป็นม้านั่งไม้บิลท์อินวางเบาะ ยาวเอาไว้เป็นเบย์วินโดว์ ที่ชวนให้มานั่งริมหน้าต่าง วิธีการแยกฟังก์ชันแบบนี้ให้ความเป็นสัดเป็นส่วน โดยที่ไม่ต้องก่อผนังกั้นให้เสียพื้นที่ และยังทำให้บ้านดูน่าสนุกขึ้นด้วย

ระเบียง ชาน คอร์ทยาร์ดนอกตัวบ้าน บริเวณห้องรับแขก

ประตูด้านข้างของครัว เป็นบานสไลด์กระจกเปิด ออกเชื่อมต่อมายังพื้นที่นั่งเล่น บริเวณเฉลียงไม้มีหลังคาคลุม ระบบหลังคาเปิด และปิดได้ตามสภาพอากาศ ความต่อเนื่องลื่นไหล ระหว่างภายในกับภายนอก นี้ทำให้สมาชิกในบ้านออกมาใช้งานส่วนกลางแจ้งมากขึ้น จากจุดนี้จะเห็นว่ามีวิวที่หันหน้า ออกไปที่สวนสาธารณะของเมือง เป็นที่มาของการสร้างพื้นที่เปิดให้บ้านมีปฏิสัมพันธ์ กับภายนอกได้เต็มที่

บ้านที่ดีควรมี Zoning ที่ชัดเจน เริ่มจากการตั้งคำถามกับ ตัวเองก่อนว่า ตรงส่วนใหนที่ต้องการความเคลื่อนไหวมาก เคลื่อนไหวน้อย ต้องการปิดเป็นส่วนตัว หรือเปิดเชื่อมต่อปฏิสัมพันธ์ กับสิ่งแวดล้อม ถนน เพื่อนบ้าน ซึ่งส่วนใหญ่แบ่งลำดับการเข้าถึงไว้ 3 โซน คือ พื้นที่ใช้งานสาธารณะ (Public Zone)

ได้แก่ เฉลียง ระเบียง ชาน คอร์ทยาร์ดนอกตัวบ้าน บริเวณห้องรับแขก ส่วนต่อมาจะเป็นพื้นที่กึ่งสาธารณะ (Semi-public Zone) ที่อาจมีคนเดินผ่านไปมาใช้งานช่วงกลางวันเป็นประจำ อาทิ ห้องครัว ห้องรับประทานอาหาร รวมถึงห้องนั่งเล่น และระดับสุดท้ายเป็นโซนส่วนตัว (Private Zone) จะค่อนข้างสงบ ไม่พลุกพล่าน บุคคลภายนอกต้องได้รับอนุญาตก่อนเข้าถึง เช่น ห้องนอน ห้องน้ำชั้นบน เป็นต้น