บ้านหน้าแคบลึกที่ดูกว้าง

บ้านหน้าแคบลึกที่ดูกว้าง ออกแบบบ้านหน้าแคบ บ้านในเขตชุมชนเมือง ส่วนใหญ่มีลักษณะหน้าแคบ แต่ลึก เนื่องจาก ราคาที่ดินในเมือง มีราคาสูง การแบ่งซอยพื้นที่เล็ก ๆ จึงสามารถขายได้ง่ายกว่าที่ดินผืนใหญ่ บ้านหน้าแคบแต่ลึก มักจะเป็นบ้านที่ถูกปิดทึบด้วยผนังทั้ง 2 ด้าน ทำให้รู้สึกอึดอัด คับแคบ ต้องเปิดไฟตลอดทั้งวัน มาดูแนวทางแก้ปัญหาเปลี่ยนบ้านหน้าแคบ ให้ดูมีพื้นที่ ไม่แออัด ดังนี้

บ้านหน้าแคบลึกที่ดูกว้าง

บ้านหน้าแคบลึกที่ดูกว้าง ออกแบบบ้านหน้าแคบ บ้านในเขตชุมชนเมือง ส่วนใหญ่มีลักษณะหน้าแคบ แต่ลึก เนื่องจาก

ออกแบบบ้านหน้าแคบ ทำได้อย่างไร

1.ยอมสละพื้นที่ใช้สอยอีก 50 เซนติเมตร
ตามกฎหมายระยะร่น อนุญาตให้สามารถร่นระยะอาคารได้น้อยสุด 50 เซนติเมตร โดยบริเวณดังกล่าว จะต้องออกแบบในลักษณะ ผนังทึบ หากออกแบบโปร่ง มีช่องแสง ช่องลม จำเป็นต้องร่นระยะอาคาร 2 เมตรขึ้นไป การออกแบบบ้านในที่ดินหน้าแคบ ส่วนใหญ่จึงออกแบบในลักษณะกล่องสี่เหลี่ยม ปิดทึบด้านข้างทั้ง 2 ด้าน ซึ่งทำให้ภายในบ้านมืด อับแสง

การกำหนดระยะร่น จะอิงตามด้านขนานของขอบที่ดินในด้านนั้น ๆ แต่ไม่รวม การเปิดช่องแสงในด้านตั้งฉาก ผังห้องที่ติดกำแพง จะต้นเว้นระยะร่นอย่างน้อย 50 เซนติเมตร แต่ผนังที่หันไปทางหน้าบ้านจะไม่ได้อิงจากขอบที่ดินติดกำแพง จึงสามารถเปิดช่องแสงได้ อาจจะเว้นระยะร่นในบางส่วนเพิ่มขึ้นอีก 50 เซนติเมตร เพื่อเว้นพื้นที่ไว้สำหรับทำช่องแสง ช่องหน้าต่าง เพื่อเปิดรับแสงให้ห้องได้

2.พื้นที่ทำส่วนนอกบ้านไม่พอ ทำสวนในบ้านได้
อยากมีสวนไว้ที่ บ้าน แต่พื้นที่มีจำกัด การออกแบบสวนไว้ในบ้าน หรือที่เรียกกันว่า คอร์ตในบ้าน (Courtyard) เป็นอีกแนวทาง ที่สามารถเติมเต็มธรรมชาติมาไว้ภายในบ้านได้ ให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว ปลอดภัย และได้รับแสงสว่าง แม้ผนังบ้านจะปิดทึบก็ตาม

สิ่งที่ต้องระวัง ในการจัดสวนภายในบ้าน คือ การเลือกพันธุ์ไม้ ที่ใบร่วงน้อย กินน้ำน้อย และต้องมั่นใจได้ว่า เราสามารถดูแลต้นไม้เหล่านี้ ให้อยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ หากดูแลไม่ดี อาจจะกลายเป็นภาระให้บ้านแทน หรือที่ดินของใคร มีลักษณะแคบ แต่ลึก การทำสวนส่วนตัวไว้หลังบ้านก็เป็นอีกหนึ่งไอเดียที่น่าสนใจเช่นกัน

3.เปิดผนังติดระยะร่น ทำหลังคาเปิด
การรับแสงสว่าง ในการออกแบบบ้านทั่วไป จะรับผ่านทางผนัง กระจก ช่องหน้าต่าง จนอาจลืมไปว่า ด้านบนหลังคาบ้าน ก็สามารถรับแสงสว่างได้เช่นกัน การทำหลังคา Sky Light ในตำแหน่งที่ต้องการแสง สามารถเปลี่ยนบ้านหน้าแคบ ให้ดูโปร่งกว้างได้

โดยเทคนิคนี้ สถาปนิก นิยมนำมาใช้ร่วมกับ โถงบันได ทางเดิน ห้องน้ำกึ่ง Outdoor หรือแม้แต่ภายในห้องนอน ก็สามารถใช้เทคนิคเหล่านี้ได้ แต่จุดที่ต้องระวัง สำหรับการทำหลังคา Sky Light คือ ต้องเลือกกระจกที่สามารถป้องกันแสง UV และกันความร้อนได้ เพื่อให้บ้านได้รับแสงสว่าง แต่ไม่นำพาความร้อนนั่นเอง

บ้านหน้าแคบลึกที่ดูกว้าง

4.โปร่ง ปลอดภัย เป็นส่วนตัว
สำหรับพื้นที่บางส่วน ที่สามารถเว้นระยะร่นได้ เช่น หน้าบ้าน หลังบ้าน การออกแบบให้โปร่ง โล่ง สามารถรับแสงตลอดทั้งวัน จำเป็นต้องออกแบบด้วยวัสดุกระจก อาจทำให้ไม่มีความเป็นส่วนตัวได้ แต่เราสามารถออกแบบ เปลือกอาคารภายนอกด้วย facade สวยงาม เลือกใช้ระแนง บล็อกคอนกรีต มาปิดกั้นความเป็นส่วนตัว พร้อมกับออกแบบประตูกระจกบานเลื่อน ที่สามารถเปิดรับลมธรรมชาติได้

5.ออกแบบ้านให้ชิดด้านใด ด้านหนึ่ง
บ้านเดี่ยวทั่วไป ที่มีขนาดที่ดินประมาณ 15-20 เมตร นิยมวางผังบ้านไว้กึ่งกลางที่ดิน พร้อมกับเว้นระยะร่นด้านละ 2 เมตร ตามกฎหมายกำหนด แต่สำหรับที่ดินหน้าแคบ การเว้นระยะร่นในลักษณะดังกล่าว อาจส่งผลเหลือพื้นที่ก่อสร้างน้อย การเลือกเว้นด้านใด ด้านหนึ่ง เพื่อใช้เป็นพื้นที่สวน พื้นที่โปร่ง พร้อมกับออกแบบให้พื้นที่ ฝั่งตรงข้ามเป็นลักษณะผนังทึบ เพื่อสามารถเว้นระยะร่นด้านข้างเพียง 50 เซนติเมตร จะช่วยทำให้เกิดพื้นที่ ว่างนอกอาคารมากขึ้น ใช้งานจริงได้ดีกว่าเดิม บ้านหรู

ส่วนภายในด้านผนังทึบ เหมาะกับออกแบบไว้เป็นพื้นที่บันได บ้านหน้าแคบ จะเหมาะกับบันไดตรง ขึ้นลงตามแนวลึก หากผนังด้านดังกล่าว อยู่ฝั่งทิศตะวันตก หรือทิศใต้ จะยิ่งเกิดประโยชน์ เพราะช่วยป้องกันความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้ด้วย

แบบบ้านหน้าแคบลึกที่ดูกว้างและโปร่งสว่าง

บ้านหน้าแคบลึกที่ดูกว้าง


ชอบสีขาวและส่วนโค้ง ไม่น่าเชื่อว่าโจทย์ของบ้านเพียงแค่นี้ จะสร้างแรงบันดาลใจสำหรับทีมออกแบบ ให้สร้างสรรค์บ้านตึกหลายชั้น ให้ออกมาเป็นรูปเป็นร่างได้ จากการพูดคุยกันตอนตี 2 ของทีมออกแบบและเจ้าของบ้าน ได้สร้างบ้านที่ใกล้เคียงกับ ความคาดหวังมากที่สุด

เป็นอาคารสูงสีขาวดูเรียบๆ แต่แค่นี้ก็เพียงพอที่จะสร้าง ความประทับใจไม่รู้ลืมให้กับ ผู้ที่ผ่านไปมาในละแวกนั้น ในระหว่างวันบ้านเหมือนกับ จะละลายหายไปในแสงอาทิตย์ แต่ในเวลากลางคืนกลับส่องแสงสีอบอุ่น

บ้านบนพื้นที่ 5×18 พื้นที่ประมาณ 180 ตารางเมตรในไซง่อน ประเทศเวียดนามหลังนี้ เป็นบ้านของสมาชิก 4 คน ซึ่งประกอบด้วยคู่รักหนุ่มสาวที่เพิ่งกลับจากเรียนที่ต่างประเทศ และอาศัยอยู่กับพ่อแม่ของพวกเขา ทั้งคู่อยากมีบ้านที่มีลักษณะเฉพาะของตัวเอง แสดงออกถึงบุคลิก และความคิดใหม่เกี่ยวกับพื้นที่ ไลฟ์สไตล์ที่สบายได้ในพื้นที่แบบบ้านแถวหน้าแคบลึกผนังติด ๆ กับเพื่อนบ้าน

หากใครที่เคยอยู่อาศัยในตึกแถวจะรู้ดีว่า ด้วยผนังที่ติดกับบ้านอื่นทั้งสองด้าน (ยกเว้นแปลงหัวมุม) ทำให้เหลือพื้นที่รับแสงได้จากด้านหน้าและด้านหลังเท่านั้น ระหว่างชั้นก็ยังมีพื้นเพดานเทปิด แยกสัดส่วนชัดเจน มีเพียงโถงบันไดที่เป็นจุดโล่งที่สุด

ทำให้ภายในมีความมืดและอับ อากาศไม่ถ่ายเทเท่าที่ควร ภายในบ้านหลังนี้จึงพยายาม ขจัดข้อจำกัดเรื่องนี้ก่อน โดยการเจาะเพดานบ้านให้เป็นโถงสูง ใส่หน้าต่างขนาดใหญ่กินพื้นที่หลายเมตร และมีสกายไลท์รับแสงจากด้านบน

ห้องนั่งเล่น

มุมมองจากชั้น 3 ลงมาสู่ห้องส่วนกลาง จะเห็นความสูงโปร่ง เส้นโค้ง และสีสันของไม้ โซฟาสีส้มอิฐที่อยู่ท่ามกลางบริบทสีขาวได้อย่างชัดเจน เส้นโค้งที่ผสมผสานกับวัสดุ หลักเป็นหินขัด และเอฟเฟกต์แสงจากหน้าต่างบานใหญ่

ช่วยสร้างพื้นที่ใช้สอยที่นุ่มนวล และโปร่งสบาย แต่ให้ความรู้สึกอบอุ่นเป็นกันเอง (แม้ความสูงที่มากเกิน 2 ชั้นจะทำให้คนกลัวความสูงหวิว ๆ สักหน่อย) เนื่องจากเชื่อมต่อกับสมาชิกทุกคนใน ครอบครัวผ่านโถงสูงได้หมดตั้งแต่ชั้นบนถึงชั้นล่าง

สองด้านของบ้านติดตั้งบันไดแบบหักกลับ สลับกันด้านซ้ายขวาในแต่ละชั้น ทำให้เกิดเป็นบ้านแบบเล่นระดับสามารถสร้างชานพักใหญ่ ๆ ระหว่างชั้นบันไดให้กลายเป็นชั้นลอย แล้ววางฟังก์ชันใช้งานห้องนั่งเล่น พักผ่อนดูทีวีหรือจุดชมวิวลงไป

การเรียงฟังก์ชันใช้งาน จะเริ่มจากส่วนที่เป็นพื้นที่สาธารณะ มีความเคลื่อนไหวมากที่สุด อยู่ที่ชั้นล่าง ประกอบด้วยครัว ห้องทานข้าว และห้องนั่งเล่นที่เปิดทะลุถึงกันได้หมด ไม่มีส่วนแบ่งเป็นห้องเล็กห้องน้อย ทำให้บ้านมีพื้นที่เปิดไหลลื่นในแนวนอน

ประกอบกับประตูบ้านที่เปิดออกได้กว้าง จนสุดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ช่วยลดความรู้สึกคับแคบ ของอาคารที่กว้างเพียง 5 เมตรได้อย่างดี ส่วนอื่นๆ ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวมากขึ้น อย่างเช่น ห้องดูทีวี ห้องนอน จะกระจายตัวอยู่ตามชั้นด้านบน เพื่อให้พักผ่อนได้แบบสงบๆ

บนไดขึ้นบ้าน

วงกบประตูหน้าต่างที่ถูกลบมุมออก กลายเป็นช่องเปิดมุมมนที่หา ได้ยากในบ้านทั่วไป และแน่นอนว่าช่างต้องมีฝีมือในการฉาบตกแต่ง รวมถึงวงกบ และประตูไม้ก็ไม่ง่ายเช่นเดียวกัน ถ้าไม่เนี๊ยบงานนี้ก็จะไม่สวยงามแน่นอน

ความสุขสุดฟินกับบรรยากาศกลางแจ้งในห้องน้ำที่มีสวนเล็กๆ จัดอยู่ด้วย ทำให้เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ ในการใช้ชีวิตบนตึกที่ไม่เหมือนใคร แสดงให้เห็นความใส่ใจในความสำคัญของการมีธรรมชาติอยู่ใกล้ตัว โดยแทรกอยู่ตามมุมบ้าน ห้องต่างๆ และบนดาดฟ้า เพิ่มชีวิตชีวาให้บ้านไม่ให้แข็งกระด้างเกินไป

บ้านสองชั้น เนื้อที่แคบและลึก เหมาะจะจัดแปลนภายในแบบเล่นระดับ (Split Level) ที่มีลักษณะพื้นที่ใช้สอยภายในลดหลั่นกัน จากการเทพื้นให้มีการเหลื่อมของพื้นที่ ซึ่งจะช่วยแบ่งฟังก์ชันอย่างเป็นสัดส่วนโดยไม่มีพื้นเพดานหรือผนังปิดทึบจึงไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด

สร้างพื้นที่ว่างใจกลางอาคารให้แสงและอากาศไหลเวียนภายใน ลดข้อจำกัดของบ้านหน้าแคบได้ดี นอกจากในเรื่องการใช้งานแล้ว บ้านเล่นระดับยังทำให้บ้านมีมิติของพื้นที่ใช้งาน ดูน่าสนใจกว่าการวางระดับพื้นในระนาบเดียวกัน และมีความรู้สึกต่อเนื่องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างชั้นได้มากกว่า