ตกแต่งห้องโถง บ้านชั้นเดียว

ตกแต่งห้องโถง บ้านชั้นเดียว ห้องนั่งเล่นเป็นห้องที่ใช้ทำกิจกรรม และใช้เวลามากที่สุดในบ้าน อีกทั้งยังถือเป็นหน้าตาของบ้านสำหรับการรับรองแขก และเพื่อนฝูง ในการตกแต่งห้องนั่งเล่น จึงต้องใส่ใจตั้งแต่ การเลือกเฟอร์นิเจอร์ สีสัน รวมถึงของประดับ ตกแต่งที่เข้ากันด้วย

ตกแต่งห้องโถง บ้านชั้นเดียว

ในปัจจุบันการออกแบบ และสร้างบ้านมักทำห้องโถง เป็นแบบเปิดโล่ง คือ การทำให้ห้องต่างๆมีส่วนเชื่อมต่อกับห้องอื่นๆ เช่น การทำห้องรับแขก ที่สามารถเชื่อมต่อไปยังห้องครัว บ้านเดี่ยว ห้องรับประทานอาหาร ห้องนั่งเล่น ห้องทำงาน ซึ่งก็จะไม่เรียกว่าห้องแล้วครับ ส่วนมากก็จะเรียกมุมรับแขก มุมทำงาน มุมนั่งเล่น ส่วนครัว เป็นต้น ซึ่งการออกแบบ ในลักษณะเปิดโล่งแบบนี้นอกจาก ทำให้บ้านดูกว้างขวางไม่อึดอัด ยังทำให้คนในครอบครัว มีกิจกรรมร่วมกันอยู่ตลอดเวลา ประมาณว่าจะทำอะไรก็ สามารถพูดคุยกันได้ตลอดเวลา ทำให้ครอบครัวมี ความอบอุ่นมากขึ้น และที่สำคัญช่วยประหยัดงบประมาณในการก่อสร้างด้วย

ตกแต่งห้องโถง บ้านชั้นเดียว

ทริคแต่งห้องนั่งเล่นที่ใช้ได้กับห้องทุกสไตล์

1.คำนึงถึงขนาดของห้องนั่งเล่น (Size)
หากห้องของคุณมีพื้นที่จำกัด ก็ต้องจัดสรรพื้นที่ ให้ใช้ประโยชน์ได้สูงสุด ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่อึดอัด รวมถึงการเลือกเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งห้อง ไม่ว่าจะเป็นโซฟา ตู้ ชั้น คอนโซล ฯลฯ ควรมีรูปทรงที่สามารถจัดเข้ากำแพงหรือเข้ามุมได้สะดวก และคุณอาจเลือกเฟอร์นิเจอร์ ที่มีฟังก์ชันมากกว่าหนึ่งอย่าง เช่น โซฟาที่มีชั้นหรือลิ้นชักเก็บห้องข้างใต้ จะช่วยให้ประหยัดพื้นที่ เป็นต้น

และถ้าหากห้องนั่งเล่นของ คุณมีขนาดใหญ่ สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ การจัดโซนพื้นที่ให้ดูเป็นสัดเป็นส่วน การแบ่งพื้นที่ รวมถึงความสอดคล้องของเฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งให้ไปในทิศทางเดียวกัน

2.เข้าใจลักษณะและตำแหน่งของห้องนั่งเล่น (Shape and location)
ก่อนจะตัดสินใจเลือกสไตล์ สีสัน ไปจนถึงเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ เข้ามาตกแต่งห้องนั่งเล่น เราควรจะต้องทำความเข้าใจก่อนว่า ห้องนั่งเล่นของเรามีลักษณะอย่างไรและตั้งอยู่บริเวณใดของบ้าน บ้านหรู

สำหรับห้องนั่งเล่นที่มีลักษณะลึกและแคบ การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ขนาด กะทัดรัดหรือแบบบิลต์อิน (Build-in) จะช่วยประหยัดพื้นที่ โดยหากเลือกใช้โซฟาเล็กหรือเบาะนั่งกับพื้น ห้องจะดูกะทัดรัดน่ารัก แต่ถ้าเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่ยาววางตามแนวของห้อง ก็จะทำให้ห้องดูกว้างขึ้น รวมถึงการใช้กระจกเงา และการปล่อยให้แสงธรรมชาติเข้ามาได้มากที่สุด จะทำให้ห้องดูกว้างและปลอดโปร่ง

เรื่องตำแหน่งของห้องนั่งเล่น ถ้าหากห้องนั่งเล่นของเรา เป็นโถงที่ติดกับโซนใช้พื้นที่อื่นๆ เช่น ห้องครัว ห้องทำงาน หรือบริเวณทางเข้าบ้าน ฯลฯ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับห้องนั่งเล่นของคอนโดฯ ที่มีพื้นที่จำกัด สิ่งที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ สไตล์ที่สอดคล้องกับโซนอื่นๆ การแบ่งโซนพื้นที่พักผ่อน/พื้นที่ใช้งาน เพื่อความเป็นสัดเป็นส่วน

ตกแต่งห้องโถง บ้านชั้นเดียว

3.ให้ความสำคัญกับเค้าโครงหรือเลย์เอาต์ของห้อง (Layout)
การวางเลย์เอาต์ห้องนั่งเล่น หมายถึง เราจัดตำแหน่งของเฟอร์นิเจอร์หลักๆ ว่าอะไรจะวางไว้ตรงไหน เรามีภาพห้องนั่งเล่นอย่างไรในใจ หากต้องการทำละเอียด ก็อาจลงความกว้าง ความยาว ของเฟอร์นิเจอร์ชิ้นต่างๆ เพื่อให้เรามั่นใจกับขนาดและความพอดีของเฟอร์นิเจอร์ที่จะนำเข้ามาตกแต่ง

นอกจากหน้าตาแล้ว ก็ต้องให้ ‘ความสะดวกสบาย’ ในการเดินเข้าเดินออกและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ เช่น ใช้ดูโทรทัศน์ ใช้เล่นเกม ใช้งานสำหรับกี่คน ระยะการเปิดประตู การดึงลิ้นชัก ฯลฯ ก็เป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงในตอนวางแผนเลย์เอาต์

4.เฟอร์นิเจอร์ คือ หัวใจของการแต่งห้องนั่งเล่น (Furniture)
ห้องนั่งเล่นจะตกแต่งออกมาดูสุขุม โมเดิร์น สดใส หรูหรา ดูผ่อนคลาย หรือดูน่ารัก อยู่ที่การเลือกใช้ เฟอร์นิเจอร์ชิ้นหลักในห้องนั่งเล่น เช่น โซฟาหรือที่นั่งพักผ่อน โต๊ะอเนกประสงค์/โต๊ะกาแฟ คอนโซล/โต๊ะวางโทรทัศน์ ฯลฯ

เฟอร์นิเจอร์ คือ องค์ประกอบสำคัญ เพราะมีน้ำหนักมากในการกำหนด สไตล์และบรรยากาศ (Mood & Tone) ของห้องนั่งเล่น ดังนั้น เมื่อจะตกแต่งห้องนั่งเล่น เฟอร์นิเจอร์หลักเหล่านี้ คือ สิ่งของที่ควรเลือกให้เรียบร้อยก่อนเลือกของตกแต่งชิ้นอื่นๆ อีกทั้งเฟอร์นิเจอร์ยังเป็นสิ่งสำคัญที่เราใช้ในการวางเลย์เอาต์ห้องอีกด้วย

5.จัดสัดส่วนของพื้นที่ในห้องนั่งเล่นให้ชัดเจน (Area)
ห้องนั่งเล่น จะดูดีเหมือนมี นักออกแบบภายในช่วยดู จริงๆ แล้ว อยู่ที่การใช้ของตกแต่งไม่กี่ชิ้นในการสร้างพื้นที่ที่เป็นสัดเป็นส่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าห้องนั่งเล่นของคุณเป็นห้องที่แคบและยาวต่อจากบริเวณโถง หรือติดกับห้องครัว ไม่ใช่ห้องนั่งเล่นแบบปิด การสร้างพื้นที่สำหรับห้องนั่งเล่น โดยเฉพาะจะเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง

ทริคในการแต่งห้องนั่งเล่นให้ดู เป็นสัดเป็นส่วน คือ การกำหนดอาณาเขตด้วยเฟอร์นิเจอร์ชิ้นต่างๆ ตัวอย่างไอเดียที่น่าทำตาม เช่น การหันโซฟาและเก้าอี้เข้าหากัน เพื่อสร้างอาณาเขต หลักของห้องนั่งเล่น การปูเสื่อหรือพรมที่ช่วยกำหนดพื้นที่หรือเชื่อมเฟอร์นิเจอร์ชิ้นต่างๆ เข้าด้วยกัน หรือการใช้ฉากกั้นโปร่งแสง ที่ช่วยกั้นพื้นที่ แต่ไม่ทำให้ห้องดูแคบ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ คุณสามารถวางแผนได้ ตั้งแต่การวางเลย์เอาต์ห้องนั่งเล่นเลย

ห้องนั่งเล่นที่ได้รับการตกแต่งมาอย่างดี เราจะรู้สึกได้จากความสอดคล้องกลมกลืมกัน

6.ความสอดคล้องเป็นหนึ่งเดียวของการตกแต่ง (Cohesion)
ห้องนั่งเล่นที่ได้รับการตกแต่งมาอย่างดี เราจะรู้สึกได้จากความสอดคล้องกลมกลืมกัน ของการตกแต่ง ไม่ว่าจะเป็นตัวห้อง เฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งอื่นๆ

วิธีคุมภาพรวมของห้องนั่งเล่น ส่วนใหญ่แล้ว มักจะคุมด้วยสไตล์ การตกแต่งห้องนั่งเล่นแบบต่างๆ เช่น โมเดิร์น คลาสสิก วินเทจ หรือธีมอื่นๆ ที่เจ้าของบ้านแต่ละคน จะรังสรรค์ด้วยตัวเอง แต่หากห้องของคุณไม่ได้มีสไตล์ใดสไตล์หนึ่งที่ชัดเจน ก็สามารถคุมภาพรวมของห้องให้ ไปในทิศทางเดียวกันได้ด้วยการเลือกใช้สี

หากต้องการใช้สีที่หลากหลายในห้อง ให้เลือกของที่มีน้ำหนักสี (Value of Color) ใกล้เคียงกัน เช่น

  • ถ้าชอบงานตกแต่งที่มีลวดลาย หรือพื้นผิวที่หลากหลาย ก็คละลวดลายและพื้นผิวให้ทั่วห้อง
  • ถ้าคุมโทนสีก็เลือกสีหลักใช้ในปริมาณ 60% ขึ้นไปของห้อง โดยอาจเพิ่มมิติโดยการใช้สีหลักในหลายๆ เฉด

7.คำนึงถึงแสงไฟและความสว่าง (Lighting)

แสงไฟและความสว่าง มักถูกมองข้ามในการวางแผนตกแต่งห้องนั่งเล่น แต่จริงๆ แล้ว องค์ประกอบนี้ คือ ส่วนสำคัญในการสร้างบรรยากาศของห้อง

ถ้าห้องของเรามีแสงธรรมชาติเข้ามามาก ก็จะให้ความรู้สึกโปร่งสบาย เป็นธรรมชาติ หากใช้ไฟสีขาวก็จะให้ความรู้สึกของตอนกลางวัน โมเดิร์น ดูทันสมัย หรือให้ความรู้สึกกลางๆ ส่วนแสงที่ส้มจะให้ความรู้สึกอบอุ่นและผ่อนคลาย เรื่องการวางแผนแสงไฟและความสว่าง ยังต้องคำนึงถึงว่าเราจะใช้ห้องนั่งเล่นเพื่อทำกิจกรรมอะไรบ้าง ใช้ทำงาน ใช้อ่านหนังสือ อาจจะต้องมีโคมไฟสีขาวในบริเวณนั้น ใช้ดูโทรทัศน์อาจจะต้องมีม่านทึบที่ช่วยควบคุมแสง

โดยตัวช่วยเรื่องแสงปรับบรรยากาศ และควบคุมความสว่างก็มีหลากหลาย เช่น โคมไฟ ไฟเพดานที่ปรับความสว่างได้ ผ้าม่านโปร่งแสง-ทึบแสง หน้าต่าง ช่องไฟ เป็นต้น

ไอเดียบ้านชั้นเดียว ตกแต่งภายในสวยและสบาย

การตกแต่งบ้านให้สวย กับการตกแต่งบ้าน ให้น่าอยู่นั้นมีความต่างกันอยู่พอตัว

การตกแต่งบ้านให้สวย กับการตกแต่งบ้าน ให้น่าอยู่นั้นมีความต่างกันอยู่พอตัว บางบ้านอาจจะมีการตกแต่งที่สวยแต่ไม่ได้ทำให้น่าอยู่ แต่บางบ้านตกแต่งได้ น่าอยู่แต่ไม่ได้สวยมาก แล้วการตกแต่งแบบบ้านไหนละที่จะทำให้ผู้อยู่อาศัยพึงพอใจมากที่สุด ก็น่าจะเป็นการตกแต่งให้ ทั้งสวยและน่าอยู่รวมอยู่ด้วยกัน เหมือนบ้านชั้นเดียวที่นำมาให้ชมกัน ตกแต่งภายใน ภายนอกได้ทั้งสวย และให้ความรู้สึกว่าน่าอยู่ไปพร้อมๆกัน หากไม่เชื่อลองชมภาพข้างล่างนี้ดู แล้วจะรู้ว่ามันสวยด้วย น่าอยู่ด้วยจริงๆ

แบบบ้านชั้นเดียว 3 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ และ 1 โรงจอดรถ ร่มรื่นตั้งแต่หน้าบ้าน ต้นไม้ที่ปลูกอยู่ตามรั้วกำแพงให้ความสดชื่นและทำให้บ้านดูสบายตามาก เมื่อเปิดประตูบ้านเข้าไปจะพบห้องโถงใหญ่ที่จัดไว้สำหรับเป็นห้องนั่งเล่น ห้องรับแขก และห้องครัว อยู่ในพื้นที่เดียวกันโดย ไม่มีผนังมีกั้นกลาง เปิดโล่งสบาย ปูพื้นด้วยไม้ เน้นสีขาวและสีครีมเป็นหลัก ทั้งผนัง เฟอร์นิเจอร์ เคาเตอร์ครัวติดผนังสะอาด สะอ้านน่าทำอาหารเป็นอย่างมาก ระเบียงต่อออกไปจากครัว จัดโต๊ะเก้าอี้หวาย ไว้สำหรับนั่งรับประทานอาหาร ดินเนอร์กันในครอบครัว หรือเวลาแขกไปใครมา ก็ไว้ต้อนรับแขกได้เช่นกัน