บ้านหลังคาเฉียง

บ้านหลังคาเฉียง เป็นลักษณะของหลังคาทรง เพิงหมาแหงนหันหลังชนกัน ตรงกลางเป็นส่วนลาดเอียงต่ำ มีความทันสมัย สามารถรับน้ำฝนได้ดี แต่สำหรับพื้นที่ฝนตกชุก จะไม่ค่อยเหมาะ เนื่องจากมีโอกาส หลังคารั่วซึมได้

บ้านหลังคาเฉียง หันหลังชนกัน สร้างพื้นที่ส่วนตัว

บ้านหลังคาเฉียง

บ้านหลังคาเฉียงสูง Casa Rivera เป็นชื่อบ้านโมเดิร์นที่ชวน ให้สะดุดตากับหลังคาเฉียงสูง ออกแบบให้หันหลังชนกัน โครงการตั้งอยู่ใน Juriquilla ทางตอนเหนือของเมือง Querétaro ประเทศเม็กซิโก ย่านนี้เจ้าของเป็นเอกชนที่เข้ามาพัฒนา

ดังนั้นแต่ละยูนิต แต่ละองค์ประกอบของคอมเพล็กซ์ จะมีข้อกำหนดเฉพาะสำหรับการออกแบบบ้าน รูปร่าง วัสดุ ความสูง และลักษณะที่ปรากฏในภาพรวม อย่างครอบคลุมตลอดกระบวนการ ในขณะที่กฏเกณฑ์มากมาย สถาปนิกก็ยังพยายามนำเสนอแนวคิดของ บ้านให้ออกมาได้เรียบง่ายแต่สวยงามโดด ออกมาจากบ้านข้างเคียง ได้แม้ในความสูงที่เท่ากัน

โจทย์แรกที่เจ้าของต้อง การสร้างขึ้นเพื่อเป็นบ้านให้เช่า แต่เมื่อได้มีส่วนร่วมคิดออกแบบ ก็เปลี่ยนใจใช้เป็นบ้านส่วนตัว หากมองจาก ภาษาที่บ้านนำเสนอ จะสังเกตว่าบ้านถูกวางให้ หันหน้าออกไปคนละด้าน ให้ความรู้สึกเหมือนคนที่หันหลังให้กันเหมือน ไม่ข้องเกี่ยวกัน ซึ่งมาจากที่สถาปนิก สะท้อนแนวคิดของชีวิต ครอบครัวในปัจจุบัน ที่ต่างก็ต้องการพื้นที่ส่วนตัวแต่มี ส่วนที่เชื่อมต่อกันเอาไว้ ทีมงานจึงแยกบ้านออก เป็นสองแถว รวม 3 มวลใหญ่ๆ ระหว่างมวลอาคารก็จะมีระยะห่าง และมีบางส่วนที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่

จากโมเดลบ้านจะเห็นชัด ว่าอาคารแบ่งเป็นสามส่วนใหญ่ ๆ มีสเปซที่ว่างสร้างเส้นทาง ที่ช่วยให้สามารถ จัดสรรพื้นที่ได้ง่ายขึ้น ซึ่งแต่ละอาคารก็มี ความแตกต่าง และความเป็นส่วนตัว ในแต่ละพื้นที่ ส่วนรูปทรงอาคาร จะมีส่วนที่เอียงเฉียงเป็นสามเหลี่ยมในด้านหลัง เพื่อให้สอดรับกับลักษณะ ของที่ดินที่ไม่ได้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า

บ้านหลังคาเฉียง

การค้นหาแนวทางเพื่อ แยกพื้นที่ให้สมดุล ระหว่างการใช้งานร่วมกัน และให้ความเป็นส่วนตัวที่ดีขึ้นแก่สมาชิก ในครอบครัวแต่ละคนนั้น ถูกนำมารวมกับการจัดองค์ประกอบ ของโครงการที่ ต้องการแสงสว่าง ความผ่อนคลายของธรรมชาติ และความเงียบสงบ

แนวคิดเหล่านี้ช่วย ให้สถาปนิดพัฒนา อัตราส่วนที่ดีระหว่างปริมาตร และช่องว่างของบ้าน โดยจัดให้มีช่องว่างแทรก อยู่ตามจุดต่างๆ ของบ้านที่นำเสนอ เป็นคอร์ทยาร์ด ระเบียง ทางเดิน และดาดฟ้า ที่ปรับการไหลเวียนของอากาศ เสียง และแสงธรรมชาติเข้าสู่บ้าน

ต้นไม้เป็นส่วนสำคัญ ของโครงการนี้ สถาปนิกพยายามสร้าง กรอบภาพเหมือนพืชพรรณเขียวขจีเติบโต ในทุกพื้นที่ของบ้าน จึงมีจังหวะของพื้นที่ สีเขียวเป็นทั้งคอร์ทยาร์ดเล็ก ๆ และสวนขนาดใหญ่ที่ ถูกล้อมด้วยกระจก ทำให้รู้สึกได้ถึงการ เบลอขอบเขต สร้างการเชื่อมต่อกับธรรมชาติ อย่างชิดใกล้มากขึ้นในหลายๆ จุด

ครัวโถงสูงขนาดใหญ่ ห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว

ในพื้นที่ส่วนรวมประกอบด้วย ครัวโถงสูงขนาดใหญ่ ห้องนั่งเล่น ห้องทานข้าว ซึ่งจะมีความโปร่ง เบา กว้างขวาง ของสเปซที่ว่างให้สามารถ สัญจรได้อย่างลื่นไหล ปรับเปลี่ยนรูปแบบ การใช้งานได้ง่าย และแยกห้องพักเอาไว้ในอีกโซนหนึ่ง เมื่อถึงเวลาใช้ชีวิตประจำวันร่วมกัน อย่างทำกับข้าว นั่งเล่น ทานอาหาร ก็มาเจอกันที่นี่ แต่เมื่อถึงเวลาพักผ่อนก็แยกย้ายไปที่ห้องส่วนตัว หากมีงานจัดเลี้ยงสังสรรค์ ในโอกาสพิเศษก็สามารถ รับแขกได้ โดยที่ยังมีที่ว่าง มีสวน และทางเดินคั่นไม่กระทบ กับสมาชิกคนอื่นๆ ในบ้าน

ในส่วนของวัสดุทีมงาน พยายามใช้เทคนิคออร์แกนิก และวิธีการดั้งเดิมจากแต่ละภูมิภาค เพื่อเสริมบรรยากาศ ของพื้นที่ให้อบอุ่นผ่อนคลาย จึงเลือกใช้ผนังปูนขาวและปูนปั้นจากดิน เพื่อใช้วัสดุฉาบผนัง ตามธรรมชาติแต่ยังปล่อย ให้ปูนขาวหายใจได้ และทิ้งรอยประทับของช่างฝีมือ ทำให้ย้อนนึกถึงผนังในสมัยก่อน

การใช้ไม้ที่สอดคล้องกับ ความรู้สึกอบอุ่นเพื่อลด ความแข็งกระด้างของไซต์ และยังช่วยลดเสียงก้องอันเป็นผลมา จากการตกแต่งแบบมินิมอล เพื่อความเงียบในบ้าน จากโถงบันไดที่เห็นร่องรอยดินฉาบสี Earth Tone จับราวเหล็กสีดำนำทางขึ้นมาเรื่อยๆ จนสุดถึงข้างบน จะเป็นห้องนอน และอีกด้านหนึ่งเปิดออกไปที่ดาดฟ้าได้

บนดาดฟ้าจะก่อด้วย อิฐทาสีขาว

บนดาดฟ้าจะก่อด้วย อิฐทาสีขาว และปูพื้นด้วยอิฐแดง เราจะเห็นแนวกำแพง ที่เป็นเส้นเฉียง ซึ่งถ้ามองจากภายนอก ก็คือเส้นของบ้านที่ลาดเอียง เป็นวิธีการออกแบบโดยรักษาบทสนทนากับ สิ่งรอบข้างอย่างต่อเนื่อง เป็นบ้านที่ไม่ละเลยทั้งความต้องการของผู้อยู่อาศัย สถานที่ ขนบธรรมเนียม และสภาพแวดล้อม พร้อมค้นหาการตอบสนองร่วมสมัยไปด้วยกัน

โดยทั่วไปแล้วบ้านที่ มีดาดฟ้าจะใช้คอนกรีตเสริมเหล็กแบบหล่อในที่ทำพื้น ซึ่งวิธีนี้จะทำให้พื้นเป็นผืนเดียว แบบไร้รอยต่อ โดยจะต้องทำ slope ไปทางท่อระบายน้ำที่เหมาะสม (อัตราส่วนอย่างต่ำ 1:200) เพื่อให้ระบายน้ำได้สะดวก ควรติดตั้งท่อ Sleeve (การวางท่อ PVC ในลักษณะแบบลอดผ่านพื้น) เพราะหากเจาะพื้นเพื่อติดตั้ง ท่อระบายน้ำในภายหลัง จะมีโอกาสที่พื้นจะเกิด การรั่วซึมได้มาก

ที่สำคัญ คือ การทำระบบกันซึมที่ดี เพื่อไม่ให้น้ำขัง ไม่รั่วซึมลงไปชั้นล่าง แล้วค่อยตกแต่งด้วยวัสดุปูพื้นอื่นๆ เพื่อความสวยงามก็ได้ เพียงแต่ต้องคำนวณ น้ำหนักวัสดุให้ดีว่าหลังคาดาดฟ้า นั้นรับน้ำหนักได้ไหม บ้านเดี่ยว

หลังคาทรงเพิงมาแหงน (Lean-to Roof)

หลังคารูปทรงเรียบ ทีมีความลาดเอียงเพียงด้านใดด้านหนึ่ง ในอดีตมักสร้างเป็นหลังคาชั่วคราว แต่ปัจจุบันนิยมใช้เป็นร่วมกับบ้าน หรืออาคารสไตล์โมเดิร์น ดูทันสมัย ก่อสร้างได้ง่าย และรวดเร็ว สามารถระบายน้ำฝน และป้องกันแดดได้ดี ในด้านที่ลาดเอียงลง สามารถรับลมได้รอบทิศทาง

ข้อดี ก่อสร้างง่าย ไม่มีอะไรซับซ้อน ใช้เวลารวดเร็วและใช้งบประมาณน้อยกว่าหลังคารูปแบบอื่น รับลมได้ดี
ข้อเสีย ในขณะที่ตัวบ้านสามารถรับลมได้ดี เพราะไม่มีหลังคามาบัง แต่ก็ต้องเจอกับฝน และแดดเช่นกัน
คำแนะนำ การแก้ไขโดยที่ยังคง ความโมเดร์นของหลังคาอยู่นั้น อาจทำได้โดยปลูกต้นไม้ใหญ่บังในด้านที่หลังคาลาดเอียงขึ้น

ไขข้อข้องใจ หลังคาบ้านสวย ๆ แบบไหนเหมาะกับบ้านเรา?

เนื่องด้วยพื้นฐานประเทศไทยเป็นประเทศในเขตร้อนชื้น มีแดดจัดและฝนตกชุกตลอดทั้งปี ดังนั้นควรเลือกหลังคาบ้านสวย ๆ ที่จะช่วยระบายความร้อนได้ดี ได้แก่ หลังคาทรงจั่ว, หลังคาทรงปั้นหยา และหลังคาทรงมะนิลา

สำหรับหลังคา บ้านสวย ๆ ที่ไม่ต้องใช้งบประมาณมาก ก่อสร้างไม่ยุ่งยาก ได้ความสวยงามแบบสมัยใหม่ ได้แก่ หลังคาทรงแบน, หลังคาทรงเพิงหมาแหงน และหลังคาทรงปีกผีเสื้อ แต่มีจุดด้อยคือกันแดดกันฝนได้ไม่ดีนัก และมีโอกาสเกิดการรั่วซึมมาก

ส่วนหลังคาทรงกลม เป็นหลังคาที่มีความสวยงามโดดเด่นเฉพาะตัว แต่ต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญ และยังใช้งบประมาณสูงกว่าหลังคาแบบอื่น เนื่องจากต้องใช้วัสดุประเภท เมทัลชีท, ไฟเบอร์กลาส, ยางมะตอย และแผ่นทองแดง ซึ่งมีจุดด้อยคือไม่สามารถระบายความร้อนได้ดีเท่ากับทรงอื่น ๆ